ดอกดาหลา
ดอกดาหลา เป็นพืชที่มีลักษณะคล้ายข่า มีลำต้นใต้ดิน เรียกว่า เหง้า เหล้านี้
จะเป็นบริเวณที่เกิดของหน่อดอกและหน่อต้น
ดอกดาหลาหนึ่งต้นสามารถให้หน่อใหม่ประมาณ 7 หน่อ ในเวลาหนึ่งปี มีลำต้นเหนือดินเป็นกาบใบที่โอบซ้อนกันแน่น
เช่นเดียวกับพวกกล้วย
ใบ
มีรูปร่างยาวรีกลางใบกว้าง แล้วค่อยๆ
เรียวไปหาปลายใบ และฐานใบ
ใบไม่มีก้านใบผิวเลี้ยง
ทั้งด้านบนและด่านล่าง ใบยาวประมาณ
30-80
ซม.
กว้างถึง 10-15 ซม. ปลายใบแหลม
ฐานใบเรียวลาดลงเข้าหาก้านใบ เส้นกลางใบปรากฏชัดเจน ทั้งด้านล่างของใบ
ดอก ดอกดาหลา เป็นดอกช่อ มีลักษณะดอกแบบประกอบด้วยกลีบประดับขนาดใหญ่
มีความกว้าง จะมีสีแดงกลีบขาว
เรียงซ้อนกันอยู่ และจะบานออกประมาณ 25-30 กลีบ
และมีกลีบประดับขนาดเล็ก อยู่บนส่วนบนของช่อดอก ความกว้างกลีบ ประมาณ 1 ซม.
ซึ่งมีสีเดียวกับกลีบประดับ
มีประมาณ 300-330 กลีบ ภายในกลีบประดับขนาดใหญ่ ที่บานออก จะมีดอกขนาดเล็กกลีบสีแดง ซึ่งเป็นดอกสมบูรณ์เพศ
จะออกดอกตลอดปี แต่จะให้ดอกดกที่สุดในช่วงฤดูร้อน ดอกจะพัฒนามาจากหน่อ
ดอกที่แทงออกมาจากเหง้าใต้ดิน ลักษณะของหน่อจะมีสีชมพูที่ปลายดอก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น